การประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ

การระบุประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ     
คณะกรรมการจัดการด้านความยั่งยืนรวบรวมประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ และจากการแสดงความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบการตัดสินใจในการระบุประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย ครอบคลุมมิติการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
 

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ   


บริษัทได้ดำเนินการกำหนดและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท โดยการรวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่าย/แผนกของบริษัท รวมถึงข้อมูลจากหน่วยงานก่อสร้างที่รวบรวมผ่านส่วนงานชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งมีหน้าที่สื่อสารและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานก่อสร้างและชุมชนรายรอบหน่วยงานก่อสร้าง เพื่อทราบถึงความต้องการและข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม

การประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ

ผู้มีส่วนได้เสีย ความคาดหวัง แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ช่องทางการสื่อสาร
ผู้ถือหุ้น

 

  • ผลตอบแทนสูงสุด
    (ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม)
  • การดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและตรวจสอบได้
  • สิทธิของผู้ถือหุ้น
  • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
  • การเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
  • กำหนดช่องทางในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

 

 

 

 

  • การดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท

  • การปฎิบัติตามนโยบายบริหารความเสี่ยง

 

 

 

 

 

 

 

 

  •  จัดประชุมประจำปี
  • การประชุมนักวิเคราะห์

  • รายงานประจำปี (56-1 One Report)

  • เว็บไซต์ของบริษัทwww.stecon.co.th

  • อีเมล์: information@stecon.co.th

  • Tel: 02-610-4900

 

 

 

 

 
ลูกค้า

 

  • การบริการและผลงานที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และราคายุติธรรม
  • การส่งมอบผลงานที่ตรงเวลา

  • การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอ

  • การทำสัญญาระหว่างลูกค้าและบริษัทอย่างเป็นธรรม และการปฏิบัติตามสัญญา

  • การรักษาความลับทางธุรกิจและความลับของลูกค้า 

 

 

 

 

  • การพัฒนาศักยภาพของบริษัทในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของบุคลากร เครื่องมือเครื่องจักร นวัตกรรม กระบวนการทำงาน  เป็นต้น
    เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและการพัฒนาไปสู่การเป็นบริษัทวิศวกรรมและก่อสร้างอย่างครบวงจร

  • การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการ
    ที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท

 

 

 

 

 

  • จัดประชุมกับลูกค้า(เจ้าของโครงการ)

  • เว็บไซต์ของบริษัท www.stecon.co.th

  • อีเมล์: information@stecon.co.th

  • โทร 02-610-4900

 

 

 

 

 

 

 

 
พนักงาน

 

  • ความมั่นคงและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  • ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นธรรมและเหมาะสม

  • ความปลอดภัยในการทำงาน

  • สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

  • ช่องทางการแสดงความคิดเห็นและร้องเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการ
    ที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท

  • การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ
    รวมถึงการพัฒนาวางแผนความก้าวหน้าใน
    สายงานอาชีพ (career path)

  • การสร้างจิตสำนึกและดำเนินการด้านความ
    ปลอดภัยในการทำงานโดยมีการกำหนดนโยบาย
    มาตรการ กฎระเบียบ แผนงานการติดตามประเมินผล
    และการพัฒนาแนวทางด้านความปลอดภัยในการทำงาน

  • การปฏิบัติตามนโยบาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  เพื่อให้สถานที่ทำงานเป็นไป
    อย่างถูกสุขลักษณะ

  • กำหนดช่องทางในการแสดงความคิดเห็นและร้องเรียน
    พร้อมมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส

  • การส่งเสริมความผูกพันและการรักษาพนักงาน  

 

 

 

 

  • จัดประชุมผู้บริหารพบพนักงาน
  • จัดประชุมกลุ่มย่อยในส่วนงานต่างๆ

  • ช่องทางการสื่อสารภายในบริษัท เช่น อีเมล/โซเชียลมีเดีย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
คู่ค้า

 

  • กระบวนการในการคัดเลือกคู่ค้าที่โปร่งใส

  • การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอ

  • การทำสัญญาระหว่างคู่ค้าและบริษัทอย่างเป็นธรรม

  • การรักษาความลับทางธุรกิจและความลับของคู่ค้า

  • ช่องทางการแสดงความคิดเห็นและร้องเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการ
    ที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท

  • การปฎิบัติตามนโยบายและแนวปฎิบัติ
    การคัดเลือกคู่ค้า

  • กำหนดให้มีจรรยาบรรณคู่ค้า

  • การปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต
    และคอร์รัปชั่นของบริษัท

  • การปฏิบัติตามสัญญาระหว่างคู่ค้าและ
    บริษัท

  • การปฎิบัติตามนโยบายการส่งเสริม
    ศักยภาพและความสามารถคู่ค้า

  • กำหนดช่องทางในการแสดงความคิดเห็น
    และร้องเรียน พร้อมมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส

 

 

 

 

  • การประชุมคู่ค้า

  • เว็บไซต์ของบริษัทwww.stecon.co.th

  • E-mail: information@stecon.co.th

  • โทร 02-610-4900

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
เจ้าหนี้

 

  •  การดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและตรวจสอบได้
  • การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอ

  • การทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และบริษัทอย่างเป็นธรรม

  • การปฏิบัติตามสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และบริษัท

 

 

  • การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและ
    จรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท

 

 

 

 

 

 

 

  • การประชุมร่วมกับเจ้าหนี้

  • เว็บไซต์ของบริษัทwww.stecon.co.th

  • โทร 02-610-4900

 

 

 

 

 

 

 
คู่แข่ง

 

  • ไม่ดำเนินการใดๆอันเป็นการจำกัดสิทธิของคู่แข่ง

 

 

  • การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและ
    จรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท

 

 

  • เว็บไซต์ของบริษัทwww.stecon.co.th
  • โทร 02-610-4900

 

 
หน่วยงานราชการ

 

  • การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจของบริษัท

  • ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ

 

 

 

 

 

  • การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและ
    จรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท

  • การปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต 
    การคอร์รัปชั่น  และการให้หรือรับสินบนของบริษัท

 

 

  • การประชุมกับหน่วยงายราชการ

  • เว็บไซต์ของบริษัท  www.stecon.co.th

  • โทร 02-610-4900

 

 

 
ชุมชนและสังคม

 

  • การดำเนินธุรกิจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนหรือผู้ที่สัญจรน้อยที่สุด

  • การดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจต่อสภาพแวดล้อม

  • การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน

  • ช่องทางการแสดงความคิดเห็นและร้องเรียน

 

 

 

 

 

 

 

  • การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและ
    จรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท

  • การปฎิบัติตามนโยบายการมีส่วนร่วมการพัฒนา
    ชุมชนและสังคมที่เกี่ยวของกับธุรกิจ

  • การปฏิบัติตามนโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัย
    และสิ่งแวดล้อม

  • กำหนดช่องทางในการแสดงความคิดเห็นและ
    ร้องเรียน พร้อมมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส

  • การมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคม

 

  • โครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ

  • ติดต่อร้องเรียน โทร 02-610-4900

  • การลงพื้นที่ชุมชน

  • เว็บไซต์ของบริษัท www.stecon.co.th

  • แผนกสื่อสารองค์กร

 

 

 

 

 

 

 

 


บริษัทให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มที่ครอบคลุม มิติการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้ทำการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนตามกระบวนการและขั้นตอนการประเมิน ประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ

กระบวนการและขั้นตอนการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :

1. การระบุประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ

คณะกรรมการจัดการด้านความยั่งยืนรวบรวมประเด็นสำคัญด้านความมยั่งยืน โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ และจากการแสดงความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบการตัดสินใจในการระบุประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย ครอบคลุมมิติการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

2. การประเมินและจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ

บริษัทนำประเด็นความยั่งยืนสำคัญที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูล มาผ่านการคัดกรองเบื้องต้น พร้อมทั้งสำรวจความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียเองและต่อองค์กร ตลอดจนการทบทวนประเด็นสำคัญอื่นจากอุตสาหกรรมเดียวกันหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีผู้มีส่วนได้เสีย ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทเข้าร่วมให้ความเห็น 

3.การตรวจสอบความถูกต้องของประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญและการทบทวนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บริษัทนำเสนอประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อรับรองการจัดลำดับความสำคัญภายใต้การคำนึงถึงระดับอิทธิพลต่อการประเมินและการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียควบคู่ไปกับระดับความสำคัญที่มีนัยต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ บริษัทยังตรวจสอบความถูกต้องของการประเมินและการจัดลำคับประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคาดหวัง มุมมองและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยรวบรวมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและจัดการประชุมภายในองค์กร เพื่อทบทวนข้อมูลของกระบวนการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ อย่างต่อเนื่อง
 

บริษัทได้ทำการระบุประเด็นด้านความยั่งยืนใน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2566 ( 56-1 One Report) โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

แผนภาพการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืน


 

 

มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม        มิติด้านสิ่งแวดล้อม
1.การกำกับดูแลกิจการ     

8.การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม   

13. การบริหารจัดการคุณภาพอากาศ
2.จรรยาบรรณธุรกิจและการต่อต้าน
การทุจริต  
9. การพัฒนาศักยภาพแก่พนักงาน 14. การบริหารจัดการระดับเสียง
3.การบริหารความเสี่ยงและการจัดการ
ภาวะวิกฤติ 
10. การจูงใจและรักษาพนักงาน   15. การบริหารจัดการน้ำ
4. ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ     11. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน 16. การจัดการขยะและของเสีย
5. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน   12. การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม    17.การบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและก๊าซเรือนกระจก
6. การบริหารจัดการนวัตกรรม        18. การจัดการด้านพลังงาน
7. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ        19. การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า
    20. การก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม